วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พยัญชนะ และ สระในภาษาไทย



พยัญชนะไทย (ก-ฮ)  มีทั้งหมด  ๔๔  ตัว     

   ก   ข   ฃ   ค   ฅ   ฆ   ง   จ   ฉ   ช  
   ซ   ฌ     ฎ   ฏ   ฐ   ฑ  ฒ  ณ   ด
   ต   ถ   ท   ธ   น   บ   ป   ผ   ฝ   พ
   ฟ   ภ   ม   ย   ร   ล   ว   ศ   ษ   ส  
   ห   ฬ   อ   ฮ

    พยัญชนะไทยบางตัวได้เลิกใช้แล้วในปัจจุบัน  ได้แก่  ฃ  ฅ 





อักษรไทย จำนวน 44 ตัว (ก  ฮ)
1
ก. เอ๋ย ก.ไก่
25
น. หนู ขวักไขว่
2
ข. ไข่ ในเล้า
26
บ. ใบไม้ ทับถม
3
ข. ขวด ของเรา
27
ป. ปลา ตากลม
4
ค. ควาย เข้านา
28
ผ. ผึ้ง ทำรัง
5
ค. คน ขึงขัง
29
ฝ. ฝา ทนทาน
6
ฆ. ระฆัง ข้างฝา
30
พ. พาน วางตั้ง
7
ง. งู ใจกล้า
31
ฟ. ฟัน สะอาดจัง
8
จ. จาน ใช้ดี
32
ภ. สำเภา กางใบ
9
ฉ. ฉิ่ง ตีดัง
33
ม. ม้า คึกคัก
10
ช. ช้าง วิ่งหนี
34
ย. ยักษ์ เขี้ยวใหญ่
11
ซ. โซ่ ล่ามที
35
ร. เรือ พายไป
12
ฌ. กะเฌอ คู่กัน
36
ล. ลิง ไต่ราว
13
ญ. ผู้หญิง โสภา
37
ว. แหวน ลงยา
14
ฎ. ชฎา สวมพลัน
38
ศ. ศาลา เงียบเหงา
15
ฏ. ปฏัก หุนหัน
39
ษ. ฤๅษี หนวดยาว
16
ฐ. ฐาน เข้ามารอง
40
ส. เสือ ดาวคะนอง
17
ฑ. มณโฑ หน้าขาว
41
ห. หีบ ใส่ผ้า
18
ฒ. ผู้เฒ่า เดินย่อง
42
ฬ. จุฬา ท่าผยอง
19
ณ. เณร ไม่มอง
43
อ. อ่าง เนืองนอง
20
ด. เด็ก ต้องนิมนต์
44
ฮ. นกฮูก ตาโต
21
ต.เต่า หลังตุง



22
ถ. ถุง แบกขน



23
ท. ทหาร อดทน



24
ธ. ธง คนนิยม
































การใช้สระ มี ๓ ลักษณะ คือ

       1. สระคงรูป  คือ  การเขียนสระตามรูปเดิมเมื่อประสมอักษร
เช่น   กิน  ( ก + อิ” + น ) ,   จะ  ( จ + “ )   ,  เตะ ( ต + เ-ะ
       2. สระเปลี่ยนรูป คือ สระที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่อเมื่อมีตัวสะกด
เช่น   กับ ( ก + “ ” + บ) ,  เจ็บ (จ + เ-ะ ” + บ) , เกิน (ก + เ-อ” + น )
       3. สระลดรูป คือ สระที่เขียนลดรูปเมื่อเมื่อมีตัวสะกด
เช่น  หก  (ห + โ-ะ ” + ก)  ,   งก  (ง + โ-ะ ” + ก)  ,  มวย  (ม + อัว ” + ย) ,  พร  (พ + -อ ” + ร)   










 การสอนอ่านแบบแจกลูก  และ   สะกดคำ


การแจกลูก หมายถึง การเทียบเสียง เริ่มต้นจากการสอนให้จำและออกเสียงคำ แล้วนำรูปคำซึ่งเปรียบเสมือนแม่มากระจายหรือแจกลูก โดยการเปลี่ยนสระ หรือเปลี่ยนพยัญชนะต้น หรือเปลี่ยนพยัญชนะท้าย(ตัวสะกด) มีวิธีการดังนี้ 

1. ยึดพยัญชนะต้นเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนรูปสระ  เช่น     
กะ  กา  กิ  กี  กึ  กื  กุ  กู

2. ยึดสระเป็นหลัก  แจกลูกโดยเปลี่ยนพยัญชนะต้น  เช่น     
กา  ขา  คา  งา  ตา  นา  ทา  วา

3. ยึดสระและตัวสะกดเป็นหลัก  แจกลูกโดยเปลี่ยนพยัญชนะต้น  เช่น     
กาง  ขาง  คาง  จาง  บาง  นาง  ทาง วาง

4. ยึดพยัญชนะต้นและสระเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนตัวสะกด เช่น     
คาง  คาน  คาย  คาว   คาด  คาบ


---- ------ 


การสะกดคำ

การสะกดคำ หมายถึง การอ่านโดยนำพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมเป็นคำอ่าน

ถือเป็นเครื่องมือการอ่านคำใหม่ ซึ่งต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำพร้อมกับการอ่านการเขียน เมื่อสะกดคำจนจำคำอ่านได้แล้ว ต่อไปก็ไม่ต้องใช้วิธีการสะกดคำนั้น ให้อ่านเป็นคำได้เลย จะทำให้นักเรียนอ่านจับใจความได้และอ่านได้เร็ว
การสะกดคำ มีหลายวิธี ได้แก่


1. สะกดตามรูปคำ เช่น     
กา    สะกดว่า    กอ อา = กา     
คาง  สะกดว่า     คอ อา งอ = คาง     
ค้าง  สะกดว่า     คอ อา งอ คาง ไม้โท = ค้าง


2. สะกดโดยสะกดแม่ ก กา ก่อน แล้วจึงสะกดมาตราตัวสะกด เช่น     
คาง   สะกดว่า คอ อา คา คา งอ = คาง     
ค้าง   สะกดว่า คอ อา คา คา งอ คาง คาง โท = ค้าง


3. คำที่มีสระอยู่หน้าพยัญชนะ ให้สะกดพยัญชนะก่อนสระเสมอ เช่น     
เก สะกดว่า กอ เอ = เก     
ไป สะกดว่า ปอ ไอ = ไป


4. คำที่เป็นสระลดรูปหรือสระเปลี่ยนรูป อาจสะกดได้ดังนี้ เช่น     
กัน สะกดว่า กอ อะ นอ = กัน   
คน สะกดว่า คอ โอะ นอ = คน  
แข็ง สะกดว่า ขอ แอะ งอ = แข็ง  
เค็ม สะกดว่า คอ เอะ มอ = เค็ม  



5. คำอักษรควบ อาจสะกดได้ดังนี้
สะกดเรียงตัวอักษร มุ่งเพื่อการเขียนให้ถูกต้อง เช่น     
กลอง  สะกดว่า  กอ ลอ ออ งอ = กลอง     
พราง  สะกดว่า  พอ รอ อา งอ = พราง     
กวาง  สะกดว่า  กอ วอ อา งอ = กวาง


6. คำอักษรนำ อาจสะกดได้ดังนี้
สะกดเรียงตัวอักษร มุ่งเพื่อการเขียนให้ถูกต้อง เช่น     
อยาก  สะกดว่า  ออ ยอ อา กอ = อยาก     
หนา   สะกดว่า   หอ นอ อา = หนา     
สนาม  สะกดว่า  สอ นอ อา มอ = สนาม


7. คำที่ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด คำที่มีตัวการันต์ ให้ใช้หลักสังเกตรูปคำ รู้ความหมายของคำและจำคำให้ได้โดยอ่านและเขียนอยู่เสมอ เช่น เหตุ จันทร์






                     อักษรสามหมู่ (ไตรยางค์)







พยัญชนะไทย (ก-ฮ)  มีทั้งหมด  44  ตัว


สามารถแบ่งออกเป็น  3 หมู่  คือ    อักษรสูง,   อักษรกลาง   และอักษรต่ำ


      1)   อักษรสูง  มี   11  ตัว  ได้แก่  ผ  ฝ  ถ  ฐ  ข ฃ  ศ  ษ  ส  ห  ฉ

การจำอักษรสูง ->> ให้ท่องว่า :    ผี   ฝาก    ถุง    ข้าว   สาร    ให้     ฉัน

ผี (ผ)  ,   ฝาก (ฝ)  ,   ถุง (ฐ  ถ) ,    ข้าว (ข  ฃ),     สาร (ศ    ส) ,    ให้ (ห) ,    ฉัน (ฉ)


      2)   อักษรกลาง  มี   9 ตัว  ได้แก่  ก  จ  ด  ต  ฎ   ฏ  บ  ป  อ

การจำอักษรกลาง ->> ให้ท่องว่า :   ไก่   จิก   เด็ก   ตาย   เด็ก   ตาย   บน   ปาก   โอ่ง


ไก่ (ก)  , จิก (จ) ,  เด็ก (ฎ),  ตาย (ฏ),  เด็ก (ด) , ตาย (ต),  บน (บ) , ปาก (ป),  โอ่ง (อ)


      3)   ที่เหลือเป็นอักษรต่ำ  มี   24  ตัว  ได้แก่  ค  ฅ  ฆ    ช  ซ  ฌ    ฑ  ฒ    ท  ธ    พ  ฟ  ภ  ม  ย  ร  ล  ว  ฬ  

                     - อักษรต่ำคู่  มี 14 ตัว  ได้แก่   ค  ฅ  ฆ  ช  ซ  ฌ  ฑ  ฒ  ท  ธ  พ  ฟ  ภ  ฮ

            - อักษรต่ำเดี่ยว  มี 10 ตัว  ได้แก่   ง   ญ   ณ   น   ม   ย   ร     ว  ฬ

 ..................................


อักษรต่ำ ยังแยกออกเป็น อักษรต่ำเดี่ยวและอักษรต่ำคู่   
(เพื่อประโยชน์ในการผันอักษรให้ครบ  5  เสียง)  ดังนี้

              - อักษรต่ำคู่  มี 14 ตัว  ได้แก่   ค  ฅ  ฆ  ช  ซ  ฌ  ฑ  ฒ  ท  ธ  พ  ฟ  ภ  ฮ

การจำอักษรต่ำคู่ ->> ให้ท่องว่า :   พ่อ   ค้า   ฟัน   ทอง   ซื้อ   ช้าง   ฮ่อ

  พ่อ ( พ ภ )   ค้า ( ค ฅ )   ฟัน ( ฟ )   ทอง ( ฒ ฑ ท ธ )   ซื้อ ( ซ )   ช้าง ( ช )   ฮ่อ (ฮ )


            - อักษรต่ำเดี่ยว  มี 10 ตัว  ได้แก่   ง   ญ   ณ   น   ม   ย   ร     ว  ฬ

การจำอักษรต่ำเดี่ยว ->> ให้ท่องว่า :   งู  ใหญ่  นอน  อยู่  ณ  ริม  วัด  โม  ฬี  โลก


งู ( ง )      ใหญ่ ( ญ )      นอน ( น )      อยู่ ( ย )     ( ณ )    ริม ( ร )    วัด ( ว ) โม ( ม )        ฬี ( ฬ )       โลก ( ล )


แบบฝึกคัดลายมือ  (แบบหัวกลม)



9 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. Unknown9 สิงหาคม 2561 11:11
    ขอบคุณมาก ๆๆ เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณคะมากๆคะ กำลังสอนลูกหัดอ่านเขียนภาษาไทย ช่วยได้เยอะเลยคะ เข้าใจง่าย .

    ตอบลบ
  4. อยากได้ตัวอักษรใช้บนแป้นมือภือซื้อแร้วก้อมข้ไม่ไดเ

    ตอบลบ